สอน การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

บทที่ 1 การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง

เรื่อง 

การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง


จุดประสงค์

                เพื่อให้นักศึกษาสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองได้

สาระสำคัญ

                การแยกตัวประกอบของพหุนามใด คือการเขียนพหุนามในรูปการคูณของพหุนามที่มีดีกรี      ต่ำกว่า   อาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งวิธีจากวิธีการเหล่านี้
                ตัวประกอบร่วม                                                  เช่น        3x2+ 6x      =  3x(x + 2)
                ผลต่างกำลังสอง                                                  เช่น        4x2 – y2      =  (2x – y)(2x + y)
                แยกพหุนามดีกรีสองเป็นสองวงเล็บ              เช่น        x2 + 5x +4   =  (x + 4)(x + 1)

กิจกรรม

1.2.1  การแยกตัวประกอบพหุนามดีกรีสองในรูป  x2 + bx + c เมื่อ  b , c เป็นจำนวนเต็ม
          ทบทวนการดึงตัวประกอบร่วม
                                Ax +  Ay              =             A(x + y)
                                (x + 2)x + (x + 2)y           =             (x + 2)(x + y)
                                                - x2 – x                  =             - x(x + 1)

        ให้สังเกตการคูณระหว่างพหุนาม
                                (x + 3) (x + 4)    =     (x + 3) (x) + (x + 3) (4)
                                                                =     (x2 +  3x) + (4x + 12)
                                                                =     x2 + (3x + 4x) + 12
                                                                =     x2 + (3 + 4)x + 12
                                                                =     x2 + 7x + 12
และสามารถกล่าวได้ว่า  x2 + 7x + 12  แยกตัวประกอบได้เป็น (x + 3) (x + 4)
ในทางกลับกันให้สังเกตการแยกตัวประกอบ  ของพหุนาม
                     x2 + 7x + 12    =     x2 + (3 + 4)x + 12
                                =     x2 + (3x + 4x) + 12
                                =     (x2 +  3x) + (4x + 12)
                                =     (x + 3) (x) + (x + 3) (4)
                                =     (x + 3) (x + 4)



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น